บทความล่าสุด

สมาชิกในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อแม่ และลูก  บางครอบครัวมีญาติ พี่น้อง อยู่ด้วย โดยที่แต่ละครอบครัวมีสมาชิกเหมือน หรือแตกต่างกันก็ได้

สมาชิกในครอบครัวของฉัน ได้แก่

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น  

1. วันวิสาขบูชา  ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้  (คือวันที่บรรลุธรรม)  และปรินิพพาน (คือวันสิ้นพระชนม์)  ของพระพุทธเจ้า  ในวันนี้ประชาชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์   ถือศีล และเวียนเทียนที่วัดในเวลาค่ำ

2. วันอาสาฬหบูชา  ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 8   เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปปฐมเทศนา หรือแสดงธรรมครั้งแรก เรียกอีกอย่างว่า ธัมมจักกัปวัตนสูตร  แสดงธรรมแก่ปัญจวคีย์ทำให้เกิดพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา และทำให้พระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยครบ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ในวันนี้ประชาชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์   ถือศีล และเวียนเทียนที่วัดในเวลาค่ำ

3. วันมาฆบูชา  ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 3  เป็นวันที่พระสงฆ์ 1,250  รูป มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย โดยพระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระสงฆ์เหล่านั้นอีกด้วย ในวันนี้ประชาชนนิยมไปทำบุญตัก บาตร ฟังเทศน์ ถือศีล และเวียนเทียนที่วัดในเวลาค่ำ

4. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันที่ประกอบพิธีกรรมถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์ได้ปรินิพพาน แล้ว ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะบำเพ็ญความดี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ที่ประกาศตัวว่าเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ  โดยน้อมรับพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง ที่ระลึกของตน เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ การทำบุญตักบาตร การเป็นชาวพุทธที่ดี ผู้ที่เป็นพุทธมามกะ ต้องสวดมนต์ ไหว้พระเป็นประจำ บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด ในด้านต่างๆ  การประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะชาวพุทธจะต้องมีอายุ 12 ปีขึ้นไป เพื่อให้เด็กในวัยเรียน เกิดความศรัทธา มั่นคงในพระพุทธศาสนาและยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า 

การเข้าพิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะกับทางโรงเรียน  

วัดเป็นสถานที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา เป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด เช่น ร่วมกิจกรรมทางศาสนา บริจาค ทรัพย์หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น  ช่วยกันพัฒนาวัด 

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดหรือศาสนสถาน มีดังนี้

1. การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอยู่เสมอ เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม 

2. บริจาคทรัพย์หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ถ้วยชาม

3. ช่วยกันพัฒนาวัด เช่น การทำความสะอาดลานวัด ปลูกต้นไม้

สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่พลั้งเผลอ การรู้ตัว ควบคุมตัวเองได้ 

การยืนด้วยสติ  เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังยืน เช่น ยืนเคารพธงชาติ ยืนต่อแถว

การเดินด้วยสติ   เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังเดินอยู่

การนั่งด้วยสติ   เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่

การฝึกสติ ในการยืน เดิน นั่ง ทำได้ง่าย เพียงแค่เรามีสติ รู้ตัวกับสิ่งที่ทำ


สื่อการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1