บทความล่าสุด

สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์  ชั้น ป.1  เรื่อง การบวกลบระคน  

การบวกลบระคน  คือ  ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย บวก ลบ อยู่ในประโยคเดียวกัน  และมีการใช้วงเล็บ วิธีการหาคำตอบ คือ  เราจะหาคำตอบในวงเล็บก่อนแล้วจึงมาทำการบวก ลบ กับจำนวนที่เหลือ

ตัวอย่าง  มีปลาย่าง  6  ตัว  แมวกินไป  3  ตัว  และกินไปอีก 1 ตัว  จะเหลือปลาย่างกี่ตัว

หลักการแก้โจทย์ปัญหา

1. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์บอก

2. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม

3. ใช้วิธีหาคำตอบ

4. จะได้ผลลัพะที่ได้

ตัวอย่าง   หนังสือเล่มหนึ่งมี  89  หน้า  อ่านไปแล้ว  65  หน้า   จะอ่านอีกกี่หน้า  จึงจะจบเล่ม

1. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์บอก  คือ  หนังสือเล่มหนึ่งมี  89  หน้า  ,  อ่านไปแล้ว  65  หน้า

2. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม  คือ  จะอ่านอีกกี่หน้า  จึงจะจบเล่ม

3. ใช้วิธีหาคำตอบ คือ  นำจำนวนหน้าทั้งหมดของหนังสือ ลบ ด้วย จำนวนหน้าหนังสือที่อ่านไปแล้ว

ได้ประโยคสัญลักษณ์  ดังนี้  89 - 65 = ?

4. หาคำตอบได้ คือ 24  ดังนั้นต้องอ่านหนังสืออีก 24 หน้า จึงจะจบเล่ม

บทเรียนคณิตศาสตร์ ชั้น ป.1 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก มีหลักการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาดังนี้

หลักการแก้โจทย์ปัญหา มีดังนี้

1. กำหนด สิ่งที่โจทย์บอก

2. กำหนด สิ่งที่โจทย์ถาม

3. วิเคราะห์โจทย์

4. วิธีหาคำตอบ

5. ผลลัพธ์ที่ได้

การบวกลบจำนวนตัวเลขที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100  หลักการสำคัญของการบวกจำนวนที่มีสองหลักกับจำนวนที่มีหนึ่งหลัก คือการบวกเลขในหลักเดียวกันก่อน นั่นคือการบวกเลขที่หลักหน่วยก่อน  และจึงไปบวกเลขที่หลักสิบ 

การบวกจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลัก  เช่น  37 + 41  

หลักหน่วย คือ เลข 7 กับ เลข 1  และ หลักสิบ คือ เลข 3 กับ เลข 4 

ให้เริ่มทำการบวกเลข จากหลักหน่วยก่อน คือ    7+ 1  = 8   ดังนั้นหลักหน่วยมีค่าเท่ากับ 8 

จากนั้นนำหลักสิบมาบวกกัน คือ  3 + 4 = 7   ดังนั้นหลักสิบมีค่าเท่ากับ 7  

คำตอบของ 37 + 41  คือ  78 

เพลง  ๑  สัปดาห์ มี  ๗  วัน

๑   สัปดาห์  มี  ๗  วัน  มีสี มีสันมากมาย        วันทุกวันช่างสดใสตามสีที่เราท่องจำ

สีแดง  คือ วันอาทิตย์                                 สีเหลือง ก็คือ วันจันทร์

สีชมพู  วันอังคาร                                      สีเขียว ก็คือ วันพุธ

สีส้ม  วันพฤหัสบดี                                   สีฟ้า ก็ วันศุกร์ไง

สีม่วงนั้นแสนสบาย เพราะคือ วันเสาร์

เพลง  ๑  ปี  มี  ๑๒  เดือน

๑  ปี  มี  ๑๒  เดือน   ท่องจำให้มันขึ้นใจ     เดือนที่ลงท้ายด้วย  คม  จะมี  ๓๑  วัน

เช่น มกราคม  เช่น  มีนาคม                     ท่องจำให้มันขึ้นใจ  เดือนที่ลงท้ายด้วย  ยน  จะมีเพียง  ๓๐  วัน

เช่น เมษายน  เช่น  มิถุนายน                   มีอีกหนึ่งเดือนพิเศษ

ชื่อเดือน  กุมภาพันธ์  มี  ๒๘  หรือ  ๒๙  วัน


สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1