บทความล่าสุด

พยัญชนะไทยมี 44 ตัว  คือ  ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ  และ พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ได้ดังนี้

1. อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห  

2. อักษรกลาง 9 ตัว  ได้แก่  ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ 

3. อักษรต่ำ  24 ตัว   ได้แก่  ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ ที่ควรรู้จักในบทเรียนนี้คือ  สระโอะ   สระเอาะ  สระ ออ  สระเออะ  สระเออ  สระเอือ

เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! )  หรือ เครื่องหมายตกใจ  เช่น  อะไรนั่น !  งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสอง ยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่แกว่งหาง

วิทยาศาสตร์  คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาต่อไปในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์ คือ  กลุ่มคน หรือบุคคล   ที่ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์  จนมีความเชียวชาญ และได้นำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฏเกณฑ์ หรือ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป 

นักวิทยาศาสตร์  จะต้องเป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  มีเหตุมีผล  มีความพยายามและอดทน 

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของไทย  คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  พระองค์ทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า  จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และโลก  จะโคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน จะเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์  เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์มิดหมดทั้งดวง  เรียกว่า  สุริยุปราคาเต็มดวง  โดยคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดที่ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ประเทศไทยจึงกำหนดวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

เนื้อหาเรื่อง  เกือบไป

หลังฝนตกหนัก  พ่อ พาพลายมะปิน  พลายมะคา  และช้างพลาย ของเพื่อนบ้านอีกสองเชือกไปช่วย ลากต้นไม้ที่ล้ม ขวางถนน ภูผา ขอไปกับพ่อ พาใบโบก  ใบบัว  ไปด้วย พ่อกับภูผา  ขี่คอ พลายมะปิน มีลูกช้างเดินตามหลังทั้งหมดพากันเดินทางลัดผ่านป่าเพื่อให้ถึงเร็วขึ้น ภูผารู้ว่าเพื่อนๆเดิมตามมา เพราะมีเสียง กระดึง และ กระพรวน ดังตลอดเวลา แล้วจู่ๆ เสียงโป๊ก เป๊ก เสียง กรุ๋งกริ๋ง  เงียบไป ภูผา หันไปดู อะไร นั่น งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสองยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่ แกว่งหาง ต่างฝ่ายต่างจ้องกันอยู่สักครู่ แล้ว งู ก็เลื้อยเข้าป่าไป  ใบโบก ใบบัว ตกใจกลัว ส่งเสียงร้อง  วิ่งชูงวง เข้ามาเกาะ หาง พลายมะปิน ทันที  โถ น่าสงสาร ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงู กัด  งูตัวใหญ่ น่ากลมัวจริงๆ เกือบไป เกือบไป 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเกือบไป 

ไม่ควรอยู่ในความประมาท เพราะอันตรายเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแค่เวลาเพียงสั้นๆ เช่น ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงูดำตัวใหญ่กัด แต่ยังดีที่งูตัวนั้นเลื้อยเข้าป่าไป ใบโบก ใบบัวจึงปลอดภัย 

พุทธประวัติ คือ  ประวัติของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่วันประสูติหรือวันเกิดของพระพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ณ สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศเนปาล  พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา  เมื่อมาอายุครบ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา หรือ พิมพา และทรงมีพระโอรส 1 พระ องค์ นามว่า ราหุล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ มีความประสงค์จะให้ตนเองพ้นทุกข์ และชาวโลกพ้นทุกข์  เมื่ออายุได้ 29  พรรษา  พระองค์จึงตัดสินใจออกผนวช และ หาทางดับทุกข์  พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานร่างกาย   เพื่อค้นหาวิธีดับทุกข์  พระองค์ใช้เวลา 6 ปี ในการตรัสรู้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้ ได้เทศนาแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร  แก ปัญจวัคคีย์ 5 รูป และได้เกิดพระสงฆ์ขึ้นครั้งแรก พระภิกษุรูปแรก ชื่อ โกณฑัญญะ  พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนานานถึง 45 ปี พระองค์ก็ได้ปรินิพพาน  ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  รวมอายุได้ 80 พรรษา

บทเรียนคณิตศาสตร์ ชั้น ป.1 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก มีหลักการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาดังนี้

หลักการแก้โจทย์ปัญหา มีดังนี้

1. กำหนด สิ่งที่โจทย์บอก

2. กำหนด สิ่งที่โจทย์ถาม

3. วิเคราะห์โจทย์

4. วิธีหาคำตอบ

5. ผลลัพธ์ที่ได้

ดวงดาว คือ วัตถุบนท้องฟ้าที่ส่องแสงสว่าง ระยิบระยับบนท้องฟ้า ในเวลากลางคืน   ในเวลากลางวันเรามองไม่เห็นดวงดาว เพราะว่า แสงจากดวงอาทิตย์ สว่างจ้ากว่าแสงของดวงดาวอื่นๆ 

การทดลอง เรื่อง ดวงดาวหายไปไหน

มีอุปกรณ์ ดังนี้ 

1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง

2. ประดาษแข็งขนาดเล็กกว่าซองจดหมาย

3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น

4. ไฟฉาย

วิธีทำการทดลอง

1. เจาะรูกระดาษแข็ง  10 รู 

2. นำกระดาษแข็งไปใส่ในซองจดหมาย

3. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าซองจดหมาย

6. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าหน้าซองจดหมาย

ผลการทดลอง

1. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหน้าของซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างของไฟฉาย

2. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหลังของซองจดหมายจะเห็นแสงของไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็กๆ

เนื้อหาเรื่องเกือบไป เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ ที่นักเรียนควรรู้จัก ซึ่งคำศัพท์ในบทเรียนเรื่อง เกือบไป รู้จักคำนำเรื่อง มีดังนี้

1. ป่า 2. ขี่ 3. ขวาง 4. เล่น 5. เกาะ

6. แกว่ง 7. ฝน 8. ตก 9. ถนน 10. ต้นไม้

11. แผ่แม่เบี้ย

จับคู่คำ น่ารู้

1. ขวางถนน     2. ต้นไม้     3. ฝนตก     4. แผ่แม่เบี้ย    5. แกว่งชิงช้า     

6. วิ่งแข่ง        7. แกว่งไกว    8. ไม้ป่า      9. ห่าฝน    10. ถนนลื่น

การบวกลบจำนวนตัวเลขที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100  หลักการสำคัญของการบวกจำนวนที่มีสองหลักกับจำนวนที่มีหนึ่งหลัก คือการบวกเลขในหลักเดียวกันก่อน นั่นคือการบวกเลขที่หลักหน่วยก่อน  และจึงไปบวกเลขที่หลักสิบ 

การบวกจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลัก  เช่น  37 + 41  

หลักหน่วย คือ เลข 7 กับ เลข 1  และ หลักสิบ คือ เลข 3 กับ เลข 4 

ให้เริ่มทำการบวกเลข จากหลักหน่วยก่อน คือ    7+ 1  = 8   ดังนั้นหลักหน่วยมีค่าเท่ากับ 8 

จากนั้นนำหลักสิบมาบวกกัน คือ  3 + 4 = 7   ดังนั้นหลักสิบมีค่าเท่ากับ 7  

คำตอบของ 37 + 41  คือ  78 

อากาศเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น อากาศร้อน  ฝนตก  หรือ อากาศหนาว  วิธีปรับตัวตามสภาพอากาศมีดังนี้

1. อากาศร้อน  ใส่เสื้อบาง แขนสั้น  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ในวันที่อากาศร้อนควรดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรตากแดดเป็นเวลานาน

2. ฝนตก  ไม่ควรตากฝน ควรใส่เสื้อกันฝนกางร่ม เพื่อป้องกันฝน 

3. อากาศหนาว ควรสวมเสื้อแขนยาวเพื่อให้เกิดความอบอุ่น 

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ  คือ  แม่น้ำ  และต้นไม้   สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  เราต้องปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมให้ทันเพื่อความสุขและสุขภาพของเราเอง

เพลง   รักเมืองไทย

คนไทยนี้ดี   เป็นพี่เป็นน้อง          เมืองไทยเมืองทอง  เป็นของคนไทย

คนไทยเข้มแข็ง   ร่วมแรงร่วมใจ     รักชาติยิ่งใหญ่     ไทยสามัคคี

ธงไทยไตรรางค์   เป็นธงสามสี      ทั้งสามสิ่งนี้     เป็นที่บูชา

สีแดงคือชาติ   สีขาวศาสนา          น้ำเงินงามตา   พระมหากษัตริย์ไทย

เรารักเพื่อนบ้าน   ไม่รานรุกใคร      เมื่อยามมีภัย  ร่วมใจป้องกัน

เรารักท้องถิ่น   ทำกินแบ่งปัน        ถิ่นไทยเรานั้น   ช่วยกันดูแล

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  รักเมืองไทย  

ความรักสามัคคีของคนในชาติ  และมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์แตกต่างกันด้วย

ประเทศไทย แบ่งออกเป็น  4 ภาค

1. ภาคเหนือ  มีลักษณะภูมิประเทศ ที่มีภูเขาสลับซับซ้อน  ปกคลุมด้วยป่าไม้  มีสภาพอากาศ หนาวเย็น ชุดของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นชุดแขนยาวเพื่อความอบอุ่น มีอาหารประจำภาค คือ น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู  มีการทำอาชีพการเกษตร คือ ปลูกข้าวเหนียว  ทำสวนลำไย ทำสวนลิ้นจี่  มีลักษณะการปลูกบ้านเป็นทรงกาแล

2. ภาคกลาง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีทั้งร้อน  ฝน  หนาว  การแต่งกายเป็นเสื้อแขนสั้น มีอาชีพทำสวน  เลี้ยงปลา  มีอาหารประจำภาค คือ  น้ำพริกปลาทู  ปลาทอด  ต้มยำปลา ลักษณะที่อยู่อาศัย เป็นบ้านใต้ถุนสูง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันตอนน้ำท่วม 

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  หรือ เรียกอีกอย่างว่า ภาคอีสาน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีการแต่งกายเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้น  คาดผ้าขาวม้า  ทำอาชีพการเกาตรปลูกข้าว ไร่มันสำปะหลัง ไร่ปอ  ไร่ข้าวโพด  มีอาหารประจำภาค  ลาบ  ข้าวเหนียว  มีลักษณะที่อยู่อาศัย เป็นแบบยกใต้ถุนสูง  เพื่อให้อากาศถ่ายเท  

4. ภาคตะวันตก มีลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาสูง มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีอาหารประจำภาค คือ นิยมทานข้าวเจ้าเป็นหลัก มีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นบ้านใต้ถุนสูง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  ทำอาชีพไร่อ้อย  ไร่ข้าวโพด 

5. ภาคตะวันออก  มีลักษณะภูิมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาตัดชายฝั่งทะเล มีอากาศเย็นสบาย บริเวณชายฝั่งทะเลฝนตกชุก มีลักษณะที่อยู่อาศัยคล้ายภาคกลาง  ใต้ถุนสูง มีอาหารประจำภาค คือ  หมูชะมวง

6. ภาคใต้  มีลักษณะภูิมิประเทศเป็นพื้นที่ติดทะเล มีลักษณะอากาศร้อนและฝนตกตลอดปี  มีลักษณะการแต่งกาย ผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาวปิดคอ  สวมกางเกงสีเข้มๆ มีผ้าพับคาดเอวจรดเข่า คาดผ้าสีดำทับที่เอว สวมหมวกทรงข้าวหลามตัด  ผู้หญิง  สวมผ้าซิ่นลายดอก  เสื้อเป็นลายลูกไม้มีผ้าแพรคล้องคอ บนศีรษะมักปักด้วยปิ่นปักผม  คาดเข็มขัด มีอาหารประจำภาค คืออาหารทะเล  เช่น แกงไตปลา มีการปลูกบ้านแบบทรงปั้นหยา

เพลง  ๑  สัปดาห์ มี  ๗  วัน

๑   สัปดาห์  มี  ๗  วัน  มีสี มีสันมากมาย        วันทุกวันช่างสดใสตามสีที่เราท่องจำ

สีแดง  คือ วันอาทิตย์                                 สีเหลือง ก็คือ วันจันทร์

สีชมพู  วันอังคาร                                      สีเขียว ก็คือ วันพุธ

สีส้ม  วันพฤหัสบดี                                   สีฟ้า ก็ วันศุกร์ไง

สีม่วงนั้นแสนสบาย เพราะคือ วันเสาร์

เพลง  ๑  ปี  มี  ๑๒  เดือน

๑  ปี  มี  ๑๒  เดือน   ท่องจำให้มันขึ้นใจ     เดือนที่ลงท้ายด้วย  คม  จะมี  ๓๑  วัน

เช่น มกราคม  เช่น  มีนาคม                     ท่องจำให้มันขึ้นใจ  เดือนที่ลงท้ายด้วย  ยน  จะมีเพียง  ๓๐  วัน

เช่น เมษายน  เช่น  มิถุนายน                   มีอีกหนึ่งเดือนพิเศษ

ชื่อเดือน  กุมภาพันธ์  มี  ๒๘  หรือ  ๒๙  วัน

ดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลก ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงที่เราเห็นจากดวงจันทร์เกิดจาก  แสงของดวงอาทิตย์ส่องไปกระทบดวงจันทร์ แล้วแสงนั้นก็สะท้อนกลับมายังโลก กลางคืนที่มีดวงจันทร์ จึงไม่สว่างเท่ากลางวันที่มีดวงอาทิตย์ 

เราเห็นดวงจันทร์ได้อย่างไร  ทำไมเราถึงมองเห็นดวงจันทร์   เพราะเมื่อแสงดวงอาทิตย์ส่องมายังโลก ด้านของโลกที่ได้รับแสงจะเป็นเวลากลางวัน  และด้านของโลกที่ไม่ได้รับแสง จะเป็นเวลากลางคืน  และดวงจันทร์ที่อยู่ห่างออกไป ก็ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกันทำให้คนที่อยู่ในฝั่งเวลากลางคืนสามารถมองเห็นแสงของดวงจันทร์ที่สะท้อนมายังโลก

ลักษณะของดวงจันทร์  พื้นผิวของดวงจันทร์  เป็นพื้นที่สูง  ขรุขระ  และพื้นที่ต่ำ ค่อนข้างราบเรียบ ซึ่งพื้นผิวส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยผงฝุ่นละเอียด 

ช้างสามารถฟังภาษาคนเข้าใจ  เพราะช้างเป็นสัตว์  สัตว์และเจ้าของจะต้องมีความรักความผูกพันกัน  ดังนั้นเมื่อเจ้าของพูด  สัตว์ก็จะฟังและเข้าใจ

ช้างก็มีหัวใจ

พูดเพราะ  ช้างถูกใจ     จะว่าง่าย   ไม่ดื้อดึง

ถ้าดุ จะมึนตึง              เสียงโกรธขึ้ง  จะดื้อใส่

ถึงแม้  จะเป็นช้าง         รู้ไว้บ้าง   มีหัวใจ

ใจใคร   ก็ใจใคร           พูดเพราะไว้   ได้ไมตรี

คำศัพท์จากเรื่อง

1. พูดเพราะ   หมายถึง   เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำที่อ่อนหวานน่าฟัง

2. ถูกใจ  หมายถึง  ชอบ  ต้องใจ  ถูกอกถูกใจ

3. ดื้อ  หมายถึง  ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม

4. โกรธ   หมายถึง  ขุ่นเคืองใจอย่างแรง  ไม่พอใจอย่างรุนแรง

5. ไมตรี  หมายถึง  ความเป็นเพื่อน  ความหวังดีต่อกัน

ข้อคิดจากเรื่อง   การพูดจาไพเราะเป็นสิ่งที่ดี  เพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี  แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงก็ยังต้องการให้เจ้าของพูดจาด้วยดีๆ

ท้องฟ้าในเวลากลางวัน เราสามารถเห็นอะไรได้หลายๆอย่าง เช่น ดวงอาทิตย์  ก้อนเมฆ  นก  เครื่องบิน เป็นต้น

ดวงอาทิตย์   มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีขนาดใหญ่กว่าโลก  สาเหตุที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเล็ก เพราะ ดวงอาทิคย์อยู่ห่างจากโลกมากประมาณ  150  ล้านกิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างในตัวเอง จึงทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างได้  ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  แสงของดวงอาทิตย์จะส่องมายังโลกทำให้เกิดเวลากลางวัน  แสงจากดวงอาทิตย์เมื่อส่องมายังโลก ด้านที่โลกได้รับแสงดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางวัน  ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน 

ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

1. ดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์  ให้แสงสว่าง และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

2. ดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อพืช เพราะพืชต้องอาศัยแสงในการสังเคราะห์ช่วยในการสร้างอาหาร

ผลกระทบของดวงอาทิตย์

1. ผลกระทบต่อมนุษย์  แสงจากดวงอาทิตย์เป็นอันตรายต่อผิวหนัง

2. แสงแดดจ้าในช่วงกลางวันเป็นอันตรายต่อดวงตา