บทความล่าสุด

จำนวน 8 และ 9 เป็นจำนวนนับ ที่ต่อจาก 7  โดยการนับเริ่มจาก  1  ,  2  ,  3  ,  4  ,  5  ,  6 , 7 , 8 ,  

จำนวนนับ 8   เขียนเป็นเลขไทยได้  ๘   อ่านว่า  แปด

จำนวนนับ 9   เขียนเป็นเลขไทยได้  ๙   อ่านว่า  เก้า

 

พยัญชนะไทย มี 44 ตัว ได้แก่  ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

พยัญชนะไทย แบ่งออกเป็น  3  ส่วน คือ ได้แก่  อักษรกลาง  อักษรสูง และอักษรต่ำ

อักษรกลาง ได้แก่  ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

อักษรสูง ได้แก่  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

อักษรต่ำ ได้แก่   ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

การจำแนกสัตว์ตามที่อยู่อาศัย แบ่งได้  3  แบบ 

1. สัตว์บก

2. สัตว์น้ำ

3. สัตว์ที่อาศัยได้ทั้งในน้ำและบนบก

สัตว์บก คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก   เช่น  นก วัว  ม้า ช้าง ควาย  ผีเสื้อ  ผึ้ง  หนอน เป็ด  ไก่   ไส้เดือน

สัตว์น้ำ คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ  เช่น  ปลา  ปู  กุ้ง  หอย  ม้าน้ำ  โลมา  หมึก  วาฬ  

สัตว์ที่อาศัยได้ทั้งในน้ำและบนบก  เช่น  กบ  เขียด  อึ่งอ่าง  จระเข้  ตะโขง  เต่า  ตะพาบ 

ประวัติส่วนตัวของเรา ที่ควรทราบ  ได้แก่ วันเดือนปีเกิด  อายุ  ที่อยู่ ระดับการศึกษา และข้อมูลครอบครัว  ประวัติส่วนตัวของเรา เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เราควรทราบ เพื่อประโยชน์ของตนเอง และแนะนำตัวกับผู้อื่นได้     ข้อมูลส่วนตัวสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นได้   เช่น การนำข้อมูลส่วนตัวมาใช้ทำบัตรประชาชน  บัตรประจำตัวนักเรียน  เป็นต้น  

ดังนั้นประวัติส่วนตัว  จึงเป็นข้อมูลในการเรียนรู้ เข้าใจผู้อื่น ทำให้รู้จักซึ่งกันและกัน 

จำนวนนับ 6 และ 7 เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก  5  กล่าวคือ จำนวนนับ  1  ,  2  ,  3  ,  4  ,  5  , 6  ,  7

จำนวนนับ 6  เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก 5 

จำนวนนับ 7  เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก 6

6  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๖   อ่านว่า หก

7  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๗  อ่านว่า เจ็ด

เรื่อง ภูผา

ภูผามีพ่อ ภูผามีแม่ พ่อให้ภูผามาหา   พ่อให้ภูผาดูแลใบโบก พ่อให้ภูผาดูแลใบบัว   

ภูผารักใบบัว ภูผาดีใจได้ดูแลใบโบก  ภูผารักใบบัว ภูผาดีใจได้ดูแลใบบัว

ใบโบก ใบบัว รักภูผา   พ่อแม่ รักภูผา รักใบโบก รัก ใบบัว   

ภูผา รักพ่อแม่ รักใบโบก รักใบบัว  ใบโบก ใบบัว รักภูผา รักพ่อ รักแม่

การจัดกลุ่มสัตว์  สามารถจัดกลุ่มง่ายๆ ตามลักษณะของสัตว์และที่อยู่อาศัย ซึ่งลักษณะที่เราสามารถนำมาใช้จัดกลุ่มสัตว์ได้ เช่น  สัตว์ที่มีขา  สัตว์ที่มีปีก  สัตว์ที่มีเขา สัตว์ที่มีครีบและหาง

ช้าง    ช้างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ขนาดใหญ่ มีสี่ขา  มีหาง ขนตามลลำตัวสีเทา  มีจมูกคือ งวง  ใช้สำหรับหายใจ หยิบของเข้าปาก 

ปลานิล   มีรูปร่างคล้ายกับปลาหมอเทศ ต่างกันที่ ปลานิลมีจุดสีขาวสลับกัน  ใช้ครีบและหาง ในการเคลื่อนที่ ปลานิลเป็นสัตว์น้ำจืด  กิน ไรน้ำ  ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย  เป็นอาหาร

ปลานิลสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารของมนุษย์ได้อีกด้วย 

ในหนึ่งวันมีการบอกช่วงเวลาที่ต่างกัน และแต่ละคนจะมีกิจกรรมที่ทำต่างกัน  ได้แก่  ตอนเช้า   ตอนสาย  ตอนเที่ยง  ตอนบ่าย ตอนเย็น  ตอนค่ำ และตอนกลางคืน  ในหนึ่งวัน เด็กๆ มีช่วงเวลาในชีวิตประจำวัน เช่น 

- ตอนเช้า ตื่นนอน  อาบน้ำแต่งตัว รับประทานอาหารเช้า และเดินทางไปโรงเรียน 

- ตอนสาย เข้าห้องเรียน เรียนหนังสือ  

- ตอนเที่ยง พักรับประทานอาหารกลางวัน  

- ตอนบ่าย เริ่มเรียนในช่วงบ่าย  

การเรียงลำดับจำนวน  ได้แก่ การเรียงลำดับจำนวนจากน้อยไปหามาก และ การเรียงลำดับจำนวนจากมากไปหาน้อย

การเรียงลำดับจำนวน เรียงจากน้อยไปหามาก  เช่น  1  2  3  4  5 

การเรียงลำดับจำนวน เรียงจากมากไปหาน้อย  เช่น  5  4  3  2  1

ในบทเรียนนี้เราจะได้เรียนรู้คำนำเรื่อง ที่สำคัญพร้อมกับความหมายของคำนั้นๆ ดังนี้

1. พ่อ   หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก

2. แม่   หมายถึง หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก

3. หา   หมายถึง มุ่งพบ  หรือ  พบ

4. ให้   หมายถึง มอบ สละ อนุญาต

5. ได้   หมายถึง รับมา หรือตกมาเป็นของตน

เพลงจำนวนนับ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ..........  หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

จำนวนนับ  จำให้ดี   เรามานับ  หนึ่งถึงสิบ ลัน ลั่น ล๊า ลองนับดู  ........  มา เรา มา นับ พร้อม พร้อม กัน 

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

การนับเวลาแบบสุริยคติ  เป็นการนับเวลาแบบสากล  โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก

การนับเวลาแบบจันทรคติ  เป็นการนับเวลาแบบไทย  โดยใช้ดวงจันทร์เป็นหลัก  ในการกำหนดข้างขึ้น  ข้างแรม

ปฏิทินบอกอะไรเราบ้าง

1. บอกวันทั้ง 7 วัน  ได้แก่ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

2. บอกวันที่ กับเดือน  และปี พ.ศ.

3. บอกข้างขึ้น และข้างแรม 

4. บอกวันสำคัญต่างๆ

5. ปฏิทินใช้เป็นเครื่องเตือนความจำ และบันทึกกำหนดการนัดหมายต่างๆ

สัตว์แต่ละชนิด ใช้อวัยะในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ที่มีขาจะใช้ขาในการเคลื่อนที่ สัตว์ที่ไม่มีขาจะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  สัตว์ที่มีปีก จะใช้ปีกในการเคลื่อนที่  เป็นต้น

ตัวอย่าง 

สัตว์ที่ไม่มีขา จะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  เช่น หอยทาก ปลิง ไส้เดือนดิน 

สัตว์มีขา จะใช้ขาในการเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด เช่น ช้าง  ม้า เสือ สิงโต ใช้ขาเดินหรือวิ่ง   กบ จิ้งโจ้  ใช้ขาในการกระโดด เป็นต้น

สัตว์ปีก  ใช้ปีกช่วยบินในการเคลื่อนที่   เช่น ผีเสื้อ  แมลงปอ  นก  

สัตว์ที่มีครีบ และหาง   ใช้ครีบและหางว่ายน้ำช่วยในการเคลื่อนที่  เช่น  ปลาตะเพียน  ปลาหมอสี  ปลาการ์ตูน  เป็นต้น 

เรื่องโยกมาโยกไป .... ใบโบกใบบัว โยกตัว ไปมา โยกหัว โยกขา โยกมา โยกไป

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

1. ตัว  หมายถึง คำใช้เรียกแทนสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น  ช้าง 2 ตัว

2. หัว  หมายถึง ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์

3. ขา  หมายถึง  อวัยวะตั้งแต่สะโพกถึงข้อเท้า  สำหรับพยุงตัวและเดิน 

4. โยก หมายถึง เคลื่อนไปมาอยู่กับที่แต่ยังไม่หลุด

5. มา หมายถึง เคลื่อนตัวออกไปหาผู้พูด

6. ไป  หมายถึง  เคลื่อนออกจากที่เดิม

การจำแนกสัตว์ตามโครงสร้าง  มีดังนี้

1. ขนาด   2. ขา   3. เขา   4. หาง   5. ขน

ขนาดของสัตว์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง  แรด  วาฬ

2. สัตว์ที่มีขนาดเล็ก  เช่น  ปลา  กระรอก  กระต่าย

3.สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก  เช่น  มด  เห็บ  ยุง