บทความล่าสุด

ดินมีองค์ปรกอบ ดังนี้  เศษหิน 45 ส่วน ซากพืชซากสัตว์ 5 ส่วน น้ำ 25 ส่วน และอากาศ 25 ส่วน

1. เศษหินที่พบในดิน ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อนินทรีย์วัตถุ เศษหิน เกิดจากการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ  เศษหินจัดเป็นองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในดิน

2. ซากพืชซากสัตว์  สัตว์บางชนิดใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากสัตว์ และพืชใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อพืชเน่าเปื่อย หรือเหี่ยวเฉานั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากพืช

ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมในดิน ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า อินทรีย์วัตถุ  นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน หรือใช้ดินเป็นแหล่งอาหาร เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จุลินทรียน์ แบคทีเรียต่างๆ 

แมลงตัวเล็ก เป็นต้น

3. น้ำที่อยู่ในดิน เกิดจากฝนที่ตกลงมาแล้วไหลซึมเข้าสู่ดิน  น้ำเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในดินเท่ากับอากาศ และมีมาก รองจากเศษหิน

4. อากาศที่พบในดิน  เป็นแก๊สที่แทรกอยู่ตามเม็ดดิน ส่งผลต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน และการงอกของเมล็ดพืช อากาศเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในดินเท่ากับน้ำ และมีมากรองจากเศษหิน

     ในดินมีอะไรบ้างตอนที่ 2  เป็นการเรียนรู้ว่า ในดินมีน้ำหรือไม่ โดยการทดลอง นำดินใส่ในถุงพลาสติก 2 ถุง แล้วนำถุงที่มีดินใบหนึ่งไปตากแดด จะพบว่า ถุงที่ตากแดดจะมีน้ำเกาะอยู่ที่ถุง แสดงว่า ในดินมีน้ำ เพราะน้ำในดินได้รับความร้อน แล้วจะระเหยออกมาเป็นไอน้ำเกาะข้างๆถุง 

      น้ำฝนบางส่วนที่ซึมผ่านลงสู่ดิน และถูกดูดซับไว้ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่เล็กมาก เรียกว่าน้ำในดิน น้ำในดินช่วยละลายธาตุต่างๆในดิน เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของพืช

      ในดินมีอากาศ หรือไม่ จากการทดลอง เมื่อใส่ดินลงไปในแก้วน้ำแล้วสังเกตว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศลอยขึ้นมา แสดงว่าในดินมีอากาศ เพราะตักดินใส่ในแก้ว จะเห็นฟองอากาศลอยขึ้นมา

ในดินมีอะไรบ้าง  ดินเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์บางชนิด ได้แก่ ไส้เดือน ในดินมีเศษกิ่งไม้ ใบไม้เล็ก เศษหิน แมลงตัวเล็กๆ และไส้เดือนที่ชอนไชอยู่ในดิน  สีของดิน มีความแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม และสีดำ

นอกจากนี้การจับตัวของดินก็แตกต่างกัน  และดินจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิต ระยะเวลาการสร้างตัวของดิน

แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง การออกแรงกระทำต่อวัตถุทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่และยังทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างได้อีก เล่น การดัดลวด การปั้นดินน้ำมั้น การขยำกระดาษ การฉีกถุงกระดาษ การบิดผ้า เมื่อเราออกแรงกระทำกับวัตถุทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง หรือไม่เปลี่ยนรูปร่างก็ได้ขึ้นอยู่กับความแข็งของวัตุถุ เช่น ออกแรงปั้นดินน้ำมัน ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง แต่ออกแรงบีบยางลบ ทำให้ยางลบไม่เปลี่ยนรูปร่างเพราะ ยางลบมีความแข็งอยู่ในตัว

เนื้อหาเรื่อง แรงทำให้วัตถุปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ในวิชาวิทยาศาสตร์นี้จะมีเนื้อหาให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เกิดจากแรง ดังนั้นในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่อง แรงคืออะไร และแรงทำให้วัตถุปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้อย่างไร เช่น นักเรียนเตะลูกฟุตบอล คือ การทำให้วัตถุที่หยุดนิ่ง ได้แก่ลูกบอล เคลื่อนที่ไปข้างหน้า

แรง คือ การทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่

1. วัตถุเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่

2. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่ เป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้น

3. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่เป็นเคลื่อนที่ช้าลง หรือ หยุดนิ่ง

4. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่ เป็นเคลื่อนที่ไปในทิศทางอื่น

ขนาดของแรง คือ ระดับการออกแรง เช่น ขว้างก้อนหิน ต้องออกแรงมาก วัตถุมีมวลมาก จะต้องออกแรงมาก เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่ , การออกแรงปั่นจักรยาน เป็นการออกแรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่เป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้น การโยนห่วง เป็นการออกแรงทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ เคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง , การดีดลูกแก้ว เป็นการออกแรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่


สื่อการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1